วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ไขมัน (Lipid)

       
ภาพที่ 1 อาหารประเภทไขมัน
ที่มา : https://siripansiri.files.wordpress.com/2013/01/5497.gif


        ไขมัน สารโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่ละลายน้ำ เกิดจากหน่วยย่อยคือ กรดไขมัน และกลีเซอรอล รวมตัวกัน มีองค์ประกอบหลัก คือ C H และ O

ประเภทของไขมัน
1. ไขมันเชิงเดี่ยว(Simple lipid) เกิดจากกรดไขมัน 3 โมเลกุล รวมกับ กลีเซอรอล 1 โมลกุล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
        1) ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) มีสมการเคมีในการเกิดไขมัน ดังนี้

3 กรดไขมัน + 1 กลีเซอรอล → 1 ไขมัน(ไตรกลีเซอไรด์) + 3 น้ำ
  • ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ 
  • น้ำมันพืช(Oil) มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมาก จึงเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
  • ไขมันสัตว์(Fat) มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก จึงเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
    1.2 ไข(Wax) เกิดจากกรดไขมัน 3 โมเลกุล + แอลกอฮอลล์ มีลักษณะเป็นของแข็ง โมเลกุลของแอลกอฮอล์ที่มาจับมักมีขนาดใหญ่กว่ากลีเซอรอลมาก ทำให้แวกซ์เป็นของแข็ง บริเวณที่พบแวกซ์ เช่น คิวตินที่เคลือบใบของพืช

2. ไขมันเชิงซ้อน(Complex lipid) เกิดจากรดไขมัน 2 โมเลกุล + สารอื่น + กลีเซอรอล เช่น 
    2.1 ฟอสโฟลิพิด(Phospholipid) เกิดจากกรดไขมัน 2 โมเลกุล + หมู่ฟอสเฟต + กลีเซอรอล เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เลือกให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกเซลล์ พบมากในเซลล์สมองและเส้นประสาท
    2.2 ไกลโคลิพิด(Glycolipid) เกิดจากกรดไขมัน 2 โมเลกุล + คาร์โบไฮเดรต + กลีเซอรอล พบมากในเซลล์สมองและเส้นประสาท เป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อประสาท(Myeilin Sheath) ทำให้นำกระแสประสาทได้เร็วขึ้น
    2.3 ไลโปโปรตีน(Lypoprotein) ไขมันที่โปรตีนจับอยู่ในอัตราส่วนที่แตกกันไป มีหน้าที่เป็นตัวขนส่งไขมันในเลือด และเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์

3. อนุพันธ์ไขมัน(Derived lipid) มีสมบัติทางกายภาพเหมือนไขมัน คือ ไม่ละลายน้ำ เช่น สเตอรอยด์
    3.1 คอเลสเทอรอล(Chlolesterol) ร่างกายใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารที่จะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดี เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ และเป็นฉนวนของเส้นประสาทต่าง ๆ 
    3.2 ฮอร์โมนสเตอรอยด์(Steroid hormone) คือฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนจากท่อหมวกไตชั้นนอก เช่น 
        1) ฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน(Estrogen hormone)

ภาพที่ 2 โครงสร้างของ Estrogen hormone
ที่มา : http://helios.hampshire.edu/~msbNS/ns121/images/estrogen.gif
        2) ฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน(Androgen)

ภาพที่ 3 โครงสร้างของ Androgen hormone
ที่มา : http://chemed.chem.purdue.edu/genchem/topicreview/bp/1organic/graphics/30a.gif
        3) ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์หรือโปรเจสติน(Progestin)

ภาพที่ 4 โครงสร้างของ Progestin hormone
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/userfiles/19660/13%20(54).jpg


อ้างอิง : สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย. กรุงเทพฯ : กรีนไลฟ์ พริ้นท์เฮ้าท์, 2557.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น