ภาพที่ 1 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่มา: https://cdn-images-1.medium.com/max/477/1*JsK0nviXYXzol4Sp7PfzyA.png |
คาร์โบไฮเดรตมีธาตุ C H และ O ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช เช่น น้ำตาล แป้ง เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดจะถูกเก็บสะสมในรูปของแป้งไว้ที่ตับ และเปลี่ยนกลับมาใช้งานในรูปกลูโคสได้
ชนิดของคาร์โบไฮเดรต แบ่งตามจำนวนหน่วยของน้ำตาลเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1.โมโนแซ็กคาไรด์(Monosaccharides) คือ น้ำตาล 1หน่วย
1.1 กลูโคส(Glucose) หรือ เดกซ์โตรส(Dextrose) เป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ดี มีรสหวาน
1.2 ฟรักโทส(Fructose) เป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ดี พบในน้ำผึ้ง ผลไม้ และอสุจิ หวานมากกว่ากลูโคส
1.3 กาแลกโทส(Galactose) พบในน้ำนมรสหวานน้อยกว่ากลูโคส
ภาพที่ 2 โครงสร้างของ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลกโทส ที่มา : http://www.azaquar.com/sites/default/files/doc/ar_images/ar_chimie/ca_glucides3.gif |
2.โอลิโกแซ็กคาไรด์(Oligosaccharides) ประกอบด้วยน้ำตาล 2-15 หน่วย เชื่อมต่อกันด้วยพันธุไกลโคซิดิก(Glycosidic bond)เกิดจาก C ตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ทำปฏิกิริยากับ C ตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลตัวถัดไปและสูญเสียน้ำออกไป 1 โมเลกุล ที่พบมากในธรรมชาติ คือ ไดแซ็กคาไรด์(Disaccharide) ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล รวมตัวกัน
2.1 มอลโทส(Maltose) ได้จากเมล็ดข้าวมอลต์ที่กำลังงอก พบในข้าวเจ้า ข้าวเหนียว
2.2 แลคโทส(Lactose) พบในนมสัตว์เท่านั้น จึงเรียกว่า น้ำตาลนม
2.3 ซูโครส(Sucrose) หรือ น้ำตาลทราย ส่วนใหญ่ได้จากอ้อย
ภาพที่ 3 โครงสร้างของมอลโทส ที่มา : http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/biology4_2/lesson2/image/30.png |
3.โพลิแซ็กคาไรด์(Polysaccharides) เป็นพอลิเมอร์ของโมโนแซ็กคาไรด์ 15 หน่วยขึ้นไป เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก เป็นสารโมเลกุลใหญ่ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ และไม่มีคุณสมบัติในการรีดิวซ์
3.1 แป้ง (Strach) คาร์โบไฮเดรตที่พืชเก็บสะสมไว้เป็นอาหารสำรอง ให้พลังงานแก่คนและสัตว์ได้ แป้งประกอบด้วยอะไมโลส(Amylose) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายโซ่ตรงและอะไมโลเพกติน(Amylopectin) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์กิ่งก้านสาขา
3.2 ไกลโคเจน(Glycogen) เกิดจากกลูโคสที่มีมากเกินไปเก็บสะสมที่กล้ามเนื้อและตับไว้ใช้ในยามขาดแคลน
3.3 เซลลูโลส(Cellulose) คือ โครงสร้างของพืช มนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ แต่สัตว์เคี้ยวเอื้องย่อยได้
3.4 ไคติน(Chitin) พบที่เปลือกของแมลง เปลือกกุ้ง กระดองปู เชื้อรา เขาสัตว์
3.5 ลิกนิน(lignin) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อพืช สะสมตามผนังเซลล์ของพืช
อ้างอิง : สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย. กรุงเทพฯ : กรีนไลฟ์ พริ้นท์เฮาท์,2557.
เนื้อหาแน่นดีค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีค่ะ
ตอบลบจัดรูปแบบอ่านง่ายดีคะ
ตอบลบเนื้อหาแน่นค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ตอบลบ