- Deoxyribonucleic acid(DNA) เป็นสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่
- Ribonucleic acid(RNA) เป็นตัวกลางในการสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรมในไวรัสบางชนิด
1. องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก เป็นสายพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ คือ นิวคลีโอไทด์(Nucleotide)
โดยนิวคลีโอไทด์มีองค์ประกอบ 3 ส่วนดังนี้
1.1 เบสไนโตรเจน เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักในโมเลกุลของสายคาร์บอนที่ต่อกันเป็นวง แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
- Pyrimidine เบสไนโตรเจนที่มีวงแหวน 1 วง ได้แก่ Cytocine(C), Uracil(U), Thymine(T)
- Purine เบสไนโตรเจนที่มีวงแหวน 2 วง ได้แก่ Guanine(G), Adeninea(A)
1.2 น้ำตาลเพนโทส น้ำตาลที่เกิดจากคาร์บอนจำนวน 5 อะตอม ใน DNA และ RNA จะต่างกัน
1.3 หมู่ฟอสเฟต เป็นสารเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆไป
2. โครงสร้างของกรดนิวคลีอิก มีน้ำตาลเพนโทสเป็นโครงสร้างแกนหลัก
- C ตำแหน่งที่ 1 จะมีเบสไนโตรเจนมาเกาะ
- C ตำแหน่งที่ 5 จะมีหมู่ฟอสเฟตมาเกาะ
- C ตำแหน่งที่ 3 และ C ตำแหน่งที่ 5 สามารถต่อกับนิวคลีโอไทด์ตัวต่อไปได้
2.1 โครงสร้างของ DNA
ภาพที่ 1 โครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) ที่มา : https://sites.google.com/site/geneandcms/_/rsrc/1430303082999/home/khorngsrang-khxng-dna/chapter6-13.gif |
- เป็นพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย
- นิวคลีโอไทค์ทั้ง 2 สายจะเรียงตัวขนานกัน แบบสลับด้าน เรียกว่า Antipararelle โดยสายหนึ่งจะเรียงตัวจาก 3'→5' อีกสายจะต้องเรียงตัวจาก 5'→3' เสมอ
- หมู่เบสของทั้ง 2 สายจะเข้าคู่กัน โดย A จับพันธะคู่กับ T (A=T) และ C จับพันธะสามกับ G (C=G) เสมอ เรียกว่า Complementary base par
2.2 โครงสร้างของ RNA เป็นพอลินิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว (Sing strand) แต่อาจมีการคดโค้ง ทำให้เกิดรูปร่างต่างๆ
ภาพที่ 2 โครงสร้างของอาร์เอ็นเอ(RNA) ที่มา : https://sites.google.com/site/sanchivamolekul/_/rsrc/1472858129285/home/krd-niw-khli-xik/10.jpg |
- RNA เป็นสารพันธุกรรมในไวรัสบางชนิด และไวรอยด์ทุกชนิด
- RNA ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสร้างโปรตีน พบได้ใน นิวเคลียส, ไซโทพลาสซึม, ไรโบโซม, คลอโรพลาสต์ และไมโทคอนเดรีย เป็นต้น
อ้างอิง : สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย. กรุงเทพฯ : กรีนไลฟ์ พริ้นท์ติ้งเฮาร์,2557.
เนื้อหาสาระดีค่ะ ไม่เยอะเกินไปชอบค่ะ
ตอบลบ